ประวัติภาควิชา
ก่อนจะมี IC
ในปี พ.ศ. 2525 ภาควิชาวิทยาศาสตร์ ภายใต้คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้เปิดรับนักศึกษาในหลักสูตรเคมีอุตสาหกรรม โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาประกาศวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทเครื่องกลและไฟฟ้า โดยถือว่านักศึกษาในปีนั้นเป็นนักศึกษารุ่นแรก
จุดเริ่มต้นของ
ในปีพ.ศ. 2531
มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ขึ้นในสถาบัน โดยมีภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหนึ่งในคณะด้วยจึงนับเป็นถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมได้ โดยสำนักงานภาควิชาอยู่ ณ ชั้นล่างอาคาร 46 (ซึ่งในปัจจุบันคือบริเวณโรงพิมพ์ของมหาวิทยาลัยตรงข้ามศาลเจ้าพ่อยีราฟนั่นเอง) และได้มีการจัดทำ “ซุ้มไอซี” เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆ ของนักศึกษาของภาควิชา
ในปีพ.ศ. 2532
ซึ่งเป็นปีที่ภาควิชามีนักศึกษารุ่นที่ 8 (IC 8) ภาควิชาจึงได้เปิดรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 เข้ามาศึกษาในหลักสูตรเคมีอุตสาหกรรมที่เน้นด้านปิโตรเคมี ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเร่งรัดผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมและปิโตรเคมี โดยเรียกนักศึกษากลุ่มนี้ว่า “นักศึกษาโครงการเร่งรัด” และนอกจากนี้ยังมีการเปิดรับ “นักศึกษาโครงการสมทบพิเศษ” ขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามโครงการเร่งรัดผลิตบัณฑิตของรัฐบาลได้ถูกยกเลิกไปในเวลา 2 ปีถัดมา ดังนั้นภาค ภาควิชาจึงมีเพียงนักศึกษาโครงการปกติและนักศึกษาโครงการสมทบพิเศษเท่านั้น
IC ย้ายบ้านใหม่
ในปีพ.ศ. 2538
อาคารคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้ถูกสร้างแล้วเสร็จ ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมจึงได้ทำการย้ายสำนักงานขึ้นมาอยู่ ณ ชั้น 8 อาคาร 78 คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยในโซน A จัดสร้างเป็นห้องธุรการภาควิชา และห้องพักอาจารย์ และในโซน B ได้จัดสร้างเป็นห้องปฏิบัติการเคมีเฉพาะของนักศึกษา นอกจากนี้ก็ได้มีการก่อสร้าง “อาคารเก็บสารเคมี” ขึ้นด้านหลังคณะ เพื่อใช้เป็นอาคารสำหรับสอนวิชาปฏิบัติการเคมีพื้นฐานให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 อีกอาคารหนึ่งด้วย
IC เติบใหญ่
ในปี พ.ศ. 2539
ภาควิชาได้เปิด “หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเคมีอุตสาหกรรม” นับว่าเป็น ภาควิชาแรกของคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่เปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
ในปี พ.ศ. 2544
ได้เปิด“หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์” เพิ่มขึ้นมาอีกหลักสูตรหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2547
คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้มีการต่อเติมอาคารขึ้นอีก 3 ชั้น ภาควิชาจึงได้รับจัดสรรส่วนอาคารบริเวณชั้น 9 ทางด้านโซน A เพื่อจัดเป็นห้องปฏิบัติการโครงงานพิเศษของนักศึกษาปริญญาตรีปีสุดท้าย และห้องบรรยายก่อนเข้าห้องปฏิบัติการ
ในปี พ.ศ. 2548
ภาควิชาได้เปิด “หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเคมีอุตสาหกรรม” ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาควิชาแรกของคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ได้จัดการศึกษาครบทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา
ในปี พ.ศ. 2558
อาคารใหม่ของคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้มีการสร้างแล้วเสร็จ โดยสร้างขึ้นติดกับอาคารคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์เดิม ภาควิชาได้รับจัดสรรส่วนอาคารบริเวณชั้น 9 เพื่อจัดเป็นห้องปฏิบัติการเครื่องมือสำหรับงานวิจัยขั้นสูงและห้องเรียนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ปัจจุบันของ IC
- เปิดทำการสอนครบทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต
- ผลิตบัณฑิตไปแล้วกว่า 3,000 คน นับตั้งแต่ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2531
- จำนวนนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตทั้งหมดกว่า 400 คน และในระดับปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตอีกประมาณกว่า 20 คน
- จำนวนอาจารย์ประจำ 27 คน
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและช่างเทคนิค 11 คน
- ปัจจุบันภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมมีความพร้อมทั้งด้านการสอน งานวิจัยและการให้บริการทางวิชาการ โดยมุ่งเน้นพัฒนาคน อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
บุคลากรเกษียณอายุราชการ
1. ผศ. กรรณิกา เกตุสิงห์ (เคมีอินทรีย์) | 2. อาจารย์รณัชย์ ศิริโชติ (เคมีเชิงวิศวกรรม) |
3. อาจารย์สมจิต คงเมือง (เคมีอนินทรีย์) | 4. รศ. วัฒนา ปิ่นเสม (เคมีเชิงวิศวกรรม) |
5. รศ. ดร.สุรินทร์ เหล่าสุขสถิตย์ (เคมีอินทรีย์) | 6. รศ. ดร.ณรงค์ ผังวิวัฒน์ (เคมีเชิงฟิสิกส์) |
7. รศ. นฤมล เครือองอาจนุกูล (เคมีอินทรีย์) | 8. รศ. ดร.นพวรรณ ชนัญพานิช (เคมีพอลิเมอร์) |
บุคลากรอาวุโส
1. อาจารย์เนรมิต มรกต (เคมีวิเคราะห์)
| 2. ดร.สุพล โชติวรรณ (เคมีพอลิเมอร์)
|
3. รศ. ศิริลักษณ์ นิวิจรรยงศ์ (เคมีอินทรีย์และเคมีวิเคราะห์) | 4. รศ. ดร.ยิ่งพิศ พรพัฒน์กุล (ชีวเคมี) |
5. ผศ. ประวิตร จันทรานุภาพ (เคมีเชิงฟิสิกส์) |
อดีตบุคลากร
1. ดร.พัฒนพงษ์ อ่ำพันธุ์ (เคมีวิเคราะห์)
| 2. ผศ. ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี (เคมีพอลิเมอร์) |
3. ผศ. ดร.กิตติวัฒน์ วงศ์พิศาล (เคมีเชิงวิศวกรรม) | 4. ดร.พจนทิพย์ อิ่มสงวน (เคมีเชิงวิศวกรรม) |
5. ผศ. ดร.รังสิมา หญีตสอน (พอลิเมอร์) | 6. ผศ. ดร.ปริญญา คงพรม (วิศวกรรมเคมี) |